ปริศนาคำทาย
ปริศนาคำทาย คือ
ปัญหาหรือคำทายซึ่งผู้ถามอาจจะถามตรง ๆ หรือถามทางอ้อมก็ได้ คำถามอาจจะใช้ถ้อยคำธรรมดาแบบร้อยแก้ว หรือจะมีสัมผัสแบบร้อยกรองก็ได้ ภาษาที่ใช้เป็นภาษาสั้น ๆ กระชับความ แต่ยากในการตีความในตัวปริศนา ส่วนคำไขมักจะเป็นสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวันในสมัยนั้น ๆ
และในบางปริศนามักจะมีเค้าหรือแนวทางสำหรับคำตอบ ซึ่งผู้ตอบจะต้องใช้ความสังเกต ความคิดและไหวพริบในการคิดหาคำตอบ
วิธีการเล่น
ในสมัยก่อนนิยมเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ มักจะเล่นในยามว่างจากการทำงาน เช่น
ในตอนหัวค่ำหลังจากรับประทานอาหารเย็นแล้ว บรรดาสมาชิกในครอบครัวและอาจจะมีเพื่อนบ้านมาร่วมด้วย จะนั่งล้อมวงกันหรือนั่งตามสบาย ผู้ทายจะผลัดกันแล้วแต่ว่าใครจะคิดปัญหาได้ ถ้ามีผู้ตอบถูก ผู้ตอบคนนั้นจะมีสิทธิ์ลงโทษผู้ทาย
เช่น ให้ดื่มน้ำ ให้เขกหัว แต่ถ้าตอบไม่ได้ผู้ทายก็มีสิทธิ์ลงโทษผู้ตอบทั้งหมดได้เช่นกัน แล้วจะเฉลยปัญหา แล้วทายปัญหาต่อไป การเล่นทายปริศนานอกจากจะทำให้ผู้เล่นได้รับความสนุกสนานเพลิดเ
พลินแล้วยังช่วยฝึกให้มีนิสัยช่างสังเกต ช่างคิดและได้รับความรู้ต่าง
ๆ เป็นผลพลอยได้ เช่น ความรู้เกี่ยวกับสำนวนภาษา สังคมวิทยาและธรรมชาติวิทยา เป็นต้น
ประเภทของปริศนา
การจำแนกประเภทของปริศนา มีนักวิชาการหลายท่านจำแนกไว้หลายแบบ ทั้งนี้เพื่อให้สะดวกในการรวบรวมและศึกษาวิเคราะห์ เช่น อาร์อะไรเอ่ย เชอร์ เทเล่อร์ (Archer Yaylor) ได้รวบรวมปริศนาคำทายในภาษาอังกฤษ และจำแนกตารูปและอาการออกเป็น
๑๑ ประเภท ซึ่งนายนพคุณ คุณาชีวะ ได้นำมาใช้ในการจัดหมวดหมู่ปริศนาของไทย ดังนี้
๑.
ปริศนาที่เปรียบกับสิ่งที่มีชีวิตแต่ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นคนหรื อสัตว์ เช่น
อะไรเอ่ย มีปากไม่มีฟัน กินข้าวทุกวันได้มากกว่าคนอื่น (หม้อข้าว)
อะไรเอ่ย สองหูสี่ตา เบื่อหนังหนาเอาขาไว้ที่หู (แว่นตา)
อะไรเอ่ย สิบหูสองขา มีฤทธาเอาขาแหย่หู (ปิ่นโต)
อะไรเอ่ย หน้างอคออ่อน กินก่อนทุกวัน (ทัพพี)
อะไรเอ่ย ไม่มีคอไม่มีหัว มีแต่หน้าถึงเวลาตีได้ตีเอา (กลอง)
๒. ปริศนาที่เปรียบกับสัตว์ตัวเดียว เช่น
อะไรเอ่ย อุ้มล้มเท่าลูกหมีจะหนีชักไว้ (เปล)
อะไรเอ่ย สัตว์ป่ามาอยู่บ้าน
กินอาหารอย่างเดียวเคี้ยวแล้วก็คาย
(กระต่ายขูดมะพร้าว)
อะไรเอ่ย สี่หูสี่หาง ปากกว้างเหลือล้นกินคนทุกคืน (มุ้ง)
อะไรเอ่ย ตัวอยู่นา ตาอยู่บ้าน (ตาปู)
อะไรเอ่ย เล่นนกกะยางคอยาว กินข้าวหมดทั้งหม้อ (ทัพพี)
๓. ปริศนาที่เปรียบกับสัตว์หลายตัว เช่น
อะไรเอ่ย ปลาหลดไช ปลาไหลชอน ปลาหลดออกก่อน ปลาไหล
ตามหลัง (คนเย็บผ้า)
อะไรเอ่ย จะว่านกก็ไม่ใช่นก จะว่ากาก็ไม่ใช่กา บินมาใต้เขา
(หูวัว,หูควาย)
อะไรเอ่ย กาดำกระโดลงน้ำ กลายเป็นกาขาว (เม็ดแมงลัก)
อะไรเอ่ย ไอ้ใบ้อยู่หน้า ไอ้บ้าตามหลัง ขับหางขี้ไหล (คนไถนา)
อะไรเอ่ย ไม่มีตีนปีนต้น ไม่มีไส้ไล่กินคน ไม่มีขนสะบัดปีก
(งู ปลิง มีดโกน)
๔. ปริศนาที่เปรียบกับบุคคลคนเดียว เช่น
อะไรเอ่ย ขาวเหมือนชี สี่ตีนชี้ฟ้า (มุ้ง)
อะไรเอ่ย คนแก่หลังโกง ลงน้ำไม่ขุ่น (เบ็ดตกปลา)
อะไรเอ่ย ตาแก่หัวโล้น กระโจนน้ำแต่ดึก (ขันน้ำ)
อะไรเอ่ย พระอะไรเอ่ย คนชอบแต่ไม่ไหว้ (พระเอก)
อะไรเอ่ย ตอนเด็กนุ่งผ้า โตขึ้นมาเอาผ้าพันหัว (มะเขือ)
๕. ปริศนาที่เปรียบกับบุคคลหลายคน เช่น
อะไรเอ่ย นั่งคนเดียวรู้คนเดียว
นั่งสองคนรู้สองคน นั่งสามคน
ไม่รู้เลย (ตด)
อะไรเอ่ย คนสามแสน หามแกนไม้ประดู่ (กิ้งกือ)
อะไรเอ่ย ขาไปสองคน มืดฟ้ามัวฝนกลับมาคนเดียว (เงา)
อะไรเอ่ย พระหน่อนอนกลาง พระนางนอนริม พระหน่อขึ้นทิ่ม
พระนางยิ้มแฉ่ง (ไม้ขีดไฟ)
อะไรเอ่ย ชาวนาก็ใช่ ชาวไร่ก็ไม่เชิง หว่านพืชไม่ดี หนีตำรวจ
เปิดเปิง (คนเล่นถั่ว,คนเล่นไพ่)
๖. ปริศนาที่เปรียบกับพืช เช่น
อะไรเอ่ย ผักแพง แกงปลาลอย (ผักตำลึง)
อะไรเอ่ย ตัดมาปลูก มีลูกก่อนใบ (บันได)
อะไรเอ่ย ต้นเท่าเทียน ใบเท่าถาด (ใบบัว)
อะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปรกดิน (ตะไคร้)
อะไรเอ่ย ต้นเท่าขา ใบวาเดียว (กล้วย)
๗. ปริศนาเปรียบกับสิ่งไม่มีชีวิต เช่น
อะไรเอ่ย ไม้ปักกลางหนอง ใครไปก็ต้อง ใครมาก็ต้อง (เต้าปูน
อะไรเอ่ย เวลาใช้เอาทิ้ง เวลาไม่ใช้เอาไว้บนหัว (สมอเรือ)
อะไรเอ่ย ตลิ่งสองตลิ่ง มีติ่งอยู่ตรงกลาง (เต้าปูน)
๘. ปริศนาที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการเปรียบเทียบ เช่น
อะไรเอ่ย หน้าตาตัวตนไม่เหมือนคนสักนิด พูดเหมือนคนไม่มีผิด
ทั้งอังกฤษและไทย (วิทยุ)
อะไรเอ่ย กลมเหมือนพระจันทร์ ออกลูกตั้งพัน เหมือนกันทุกตัว
(ผึ้ง)
อะไรเอ่ย กลม ๆ เหมือนวงพระจันทร์ อยู่ในครรภ์ก็มีท้อง
สงสารนวลน้อง อยู่ในท้องก็มีครรภ์ (ฝักบัว)
อะไรเอ่ย ขาวเหมือนปีนกยาง มีแต่รังไม่มีไข่ (งอบ)
๙. ปริศนาที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับรูป หรือรูปและอาการ เช่น
อะไรเอ่ย นั่งยอง ๆมองกระเด้า เข้าไม่เข้า เอามือคลำดู (คนลับมีด)
อะไรเอ่ย กดหัวท้องป่อง (สุ่ม)
อะไรเอ่ย กลมเหมือนพระจันทร์ ชอบดันพุงคน (กระด้ง)
อะไรเอ่ย เห็นปู๊บหยุดปั๊บ เปิดฉับตักฉุบ ทำปากขมับขมุบ
ปิดฉุบแล้วเดินหนี (พระบิณฑบาต)
อะไรเอ่ย ตูดเป็นขน ก้นเป็นเหลี่ยม (กระเทียม, กระบุง)
๑๐. ปริศนาที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับสี เช่น
อะไรเอ่ย ชักออกมาดำ ตำเข้าไปแดง (ไม้ขีดไฟ)
อะไรเอ่ย ซื้อมาเป็นสีดำ นำมาใช้เป็นสีแดง พอสิ้นแรงเป็นสีเทา
ต้องเอาไปทิ้ง (ถ่าน)
อะไรเอ่ย สีดำว่าสะอาด พอมีสีขาวเราว่าสกปรก (กระดานดำ)
อะไรเอ่ย ดำเหมือนจรกา มีตาข้างเดียว (ทะนานตวงข้าว)
๑๑. ปริศนาที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำ เช่น
อะไรเอ่ย ขยุก ๆ เอาน้ำเข้า เขย่า ๆ เอาน้ำออก (คนบ้วนปาก)
อะไรเอ่ย หล่นตุ้บใส่หมวดแต้ นุ่งผ้าแพรสีเลือดหมู (ลูกตาล)
อะไรเอ่ย เช้ามาเย็นกลับ (พระอาทิตย์)
อะไรเอ่ย กลางวันอุ้มลูกยืน กลางคืนอุ้มลูกนอน (บันได)
หมายเหตุ ปริศนาคำทายไทยนอกจากนี้แล้วยังไม่สามารถจัดเข้าประเภทใดประเภท หนึ่งได้ ได้แก่
ก. ปริศนาเกี่ยวกับภาษา เช่น
อะไรเอ่ย ลิงขึ้นต้นไม้ทำยังไงจึงจะลง (ลบสระอิ)
อะไรเอ่ย จีนทำยังไงจึงจะจน (ลบสระอี)
อะไรเอ่ย ฉิ่งผัดหนู เรือผัดไก่ เอธงอ่าง (ฉันรักเธอ)
อะไรเอ่ย แหวนหับแหวนชนกันที่อากาศ เกิดเป็นสัตว์ประหลาด
ชอบกินหญ้า (วัว)
อะไรเอ่ย ตัดหัวตัดหาง เหลือกลางวาเดียว (กวาง)
อะไรเอ่ย เสือเดินหน้า กระบือตามหลัง เสือดุจังตามหลังกระบือ
(ส.ค.ส.)
ข. ปริศนาที่มีคำตอบในตัวเอง ปริศนาประเภทนี้เวลาทาย ผู้ทายจะถามอย่างเร็วที่สุดจนคนฟังไม่ทันรู้ว่ามีเคล็ดอยู่ในคำ ทาย เช่น
อะไรเอ่ย สัตว์สี่ตีนกินสัตว์ตีนเดียว สัตว์หัวเขียวกินสัตว์หน้าคว่ำ
เต่ากินเห็ด เป็ดกินหอย ต้นนั้นทายปลายนั้นบอก เร็ว
(เต่ากินเห็ด
เป็ดกินหอย)
ดีมากๆๆๆๆๆพัฒนาต่อไปนะคะ
ตอบลบใช่ๆ
ลบของเค้าดีจริง
คุณทำคำถามได้ดีมากถึงมากที่สุดค่ะ😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁😁☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺☺😊😄😄😄😄😄😄😄😄😄😄😄
ตอบลบดีมากๆเลยค่ะ
ตอบลบเวลาทำการบ้านคิดไม่ออกมาดูได้
เยี่ยมไปเลยค่ะ
สุดยอดค่ะ
ดีมากจริงค่ะ
ขอบคุนค่ะ
ดีมากๆเลยเพราะเวลาทำการบ้านแล้วคิดไม่ออกมาดูแล้วมีการบ้านส่งครูด้วยนะดีเยี่ยมดีๆๆๆๆมาก
ตอบลบ